หน้าเว็บ

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หินเจียร์ NORTON

          หินเจียร์(ABRASIVES)

หินเจียร์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม ใช้ในงาน ขัดเจียร์ เหล็กแม่พิมพ์ เหล็กแบบ   งานมิลลิ่งต่าง ๆ เป็นสินค้านำเข้าจากอเมริกา  เป็นที่นิยมในท้องตลาดมาก   มีจำห่ายในราคาถูก มีให้เลือกทุกขนาดตามความต้องการ
 และมีสินค้างานขัดเจียร์อีกมากมายไว้บริการครับ.
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ tool4factory@gmail.com หรือ Fax: 02-8945267.  ยินดีให้บริการครับ.

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรมทางหลวงปัดฝุ่น"บางใหญ่-บ้านโป่ง" โละทีโออาร์ต่อเส้นทางถึงเมืองกาญจน์
กรมทางหลวงไม่หวั่นกระแสต้าน ลุยต่อมอเตอร์เวย์บางใหญ่-บ้านโป่ง ยันไม่ซ้ำซ้อนโครงการแหลมผักเบี้ย เปิดประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนรอบที่ 3 หลังล้มเหลวมาแล้ว 2 ครั้ง โละเงื่อนไขในทีโออาร์ใหม่หมด ต่อเส้นทางถึงกาญจนบุรี หวังให้จูงใจมากขึ้น ล่าสุดเสนอคมนาคมออกกฎกระ ทรวงมารองรับ ด้าน "สุริยะ" อาศัยจังหวะ อยู่ระหว่างแก้กฎหมายโอนมอ เตอร์เวย์ 2 สายให้ กทพ.ยืดเยื้อ เล็งปัดฝุ่นใหม่ทั้งหมด
นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ รองอธิบดีฝ่ายบริหาร กรมทางหลวง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมทางหลวงกำลังจะเปิดประกาศเชิญชวนผู้สนใจ เข้ามาลงทุนโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-บ้านโป่ง เป็นครั้งที่ 3 หลังจากเปิดประกาศเชิญชวนไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ยังไม่มีเอกชนรายใดสนใจ โดยอาจจะคงรูปแบบสัมปทานเหมือนเดิม หรือปรับใหม่โดยให้รัฐลงทุนเองและจ้างเอกชนมาบริหารขึ้นอยู่กับนโย บายกระทรวงคมนาคม
"ตอนนี้ได้ส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว เพื่อให้พิจารณาแนวทางจะต้องออกเป็นกฎกระทรวงก่อน ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติสัมปทานฉบับใหม่ คาดว่าจะประกาศเชิญชวนได้ภายในปีนี้"
นายชัยสวัสดิ์กล่าวว่า เพื่อจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน กรมทางหลวงจะผ่อนปรนเงื่อนไขในทีโออาร์ให้บางประการ โดยจัดทำเงื่อนไขใหม่ จากเดิมที่มีการท้วงติงว่าตั้งเงื่อนไขสูงเกินไป ซึ่งจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมารับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง เพื่อให้พิจารณาเงื่อนไขว่าจะปรับส่วนไหนได้บ้าง เนื่อง จากที่ผ่านมาติดปัญหาเงื่อนไขที่โออาร์บางประการ
"ครั้งนี้จะมีการพิจารณาแนวเส้นทางใหม่ อาจต่อไปถึงกาญจนบุรี จากเดิมถึงแค่บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ระยะทาง 51 กิโลเมตร มูลค่า 12,196 ล้านบาท รูปแบบใหม่ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท จะเป็นเส้นทางไปทางตะวันตก เชื่อมไปยังประเทศพม่าออกเมืองทวายระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร"
นายชัยสวัสดิ์กล่าวว่าจากที่หลายฝ่ายท้วงติงว่าโครงการจะซ้ำซ้อนกับโครงการแหลมผักเบี้ยนั้น ขอยืนยันว่าไม่ซ้ำซ้อนอย่างแน่นอน เพราะเป็นคนละเส้นทางกัน เส้นนี้จะไปเชื่อมถึงประเทศพม่า ขณะที่โครงการแหลมผักเบี้ยไปไม่ถึง และจุดเริ่มต้นคนละทิศทางกันเลย
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับรายละเอียดของทีโออาร์ที่มีการปรับเงื่อนไขใหม่ จะมีการนำทีโออาร์เดิมที่เคยปรับมาแล้วรอบหนึ่งมาพิจารณาอีกครั้ง ได้แก่ 1.ปรับลดทุนจดทะเบียนบริษัท จาก 3,000 ล้านบาท เหลือ 2,000 ล้านบาท 2.ให้เอกชนจ่ายค่าเวนคืนไปก่อนและกรมทางหลวงจะจ่ายคืนให้ภายหลัง พร้อมดอกเบี้ย จากเดิมที่จะไม่มีการคิดดอกเบี้ย ซึ่งค่าเวนคืนจะอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของเอกชนในเรื่องของดอกเบี้ยว่าจะให้เท่าไหร่
3.รัฐจะประกันรายได้ขั้นต่ำให้เพื่อให้เอกชนสนใจ เพราะเอกชนเกรงว่าเมื่อเปิดใช้แล้ว รายได้จะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 4.รับประกันหน่ายงานอื่นของรัฐจะไม่มีการสร้างทางในลักษณะเดียวกันมาแข่งขัน 5.การปรับค่าผ่านทางสามารถปรับได้ตามภาวะเศรษฐกิจ หรือปรับตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ลงทุน โดยจะเก็บกิโลเมตรละ 1 บาท สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ 6.กรมทางหลวงมีแผนจะปรับปรุงถนนรัตนาธิเบศร์ เป็น 6 ช่องจราจร และก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ ขนาด 6 ช่องจราจร คร่อมสะพานพระนั่งเกล้าเดิม และในอนาคตจะขยายไปเชื่อมกับโครงการโทลล์เวย์ และวงแหวนตะวันออก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน
"นอกจากนี้อาจจะมีการพิจารณาเงื่อนไขใหม่ว่าให้รัฐลงทุนก่อสร้างไปก่อน และให้เอกชนมาบริหารและชำระเงินคืนภายหลัง และมีความเป็นไปได้ว่ากรมอาจจะเปิดประกวดราคาเป็น 2 ช่วง เพราะเป็นโครงการใหญ่ ทำต่อถึงกาญจนบุรี มีระยะทางหลายสิบกิโลเมตร ถ้าให้เอกชนรายเดียวคาดว่าจะทำให้การก่อสร้างล่าช้า" รายงานข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ผู้บริหารในกรมทางหลวงสับสนกับนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่จะให้มีการปรับโครงข่ายถนนใหม่ โดยเฉพาะทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์ โดยให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาในรายละเอียด และให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ไม่มีระบบสัมปทาน และไม่เสียค่าผ่านทาง ซึ่งเดิมกรมทางมีแนวคิดจะให้เป็นระบบสัมปทาน ให้เอกชนมาลงทุนเองทั้งหมด และจะมีการนำสร้างมอเตอร์เวย์ทั่วประเทศ อาทิ บางปะอิน-นครสวรรค์ บางปะอิน-นครราชสีมา สายชลบุรี-พัทยา ที่อยู่ระหว่างทำการศึกษา สายพัทยา-มาบตาพุด สายรามอินทรา-บางพลี สายปากท่อ-ชะอำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามกรมจะนำเสนอรายละเอียดที่ได้ศึกษาไปแล้ว ให้พิจารณาอีกครั้งถ้าไม่เห็นด้วยก็ต้องปรับใหม่
รายงานข่าวแจ้งว่ากรมทางหลวงกำลังเร่งดำเนินการสร้างมอเตอร์เวย์สายต่างๆ เพราะปัจจุ บันหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายให้
กรมทางหลวงได้จัดทำแผนแม่บทและดำเนินการก่อสร้างทางหลวงพิเศษ  ตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2540 มีโครงข่ายรวมทั้งสิ้น 13 สายทางระยะทาง รวม 4,150 กิโลเมตร ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยปัจจุบันกรมทางหลวง ได้ก่อสร้างทางหลวงพิเศษแล้วเสร็จ จำนวน 2 สาย ได้แก่
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก)
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี) 
สำหรับ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (สายบางประอิน-นครราชสีมา) นับเป็นทางหลวงพิเศษอีกเส้นทางหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เนื่องจากเป็น
เป็นทางหลวงพิเศษที่สามารถแบ่งเบาการจราจรทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่มีปริมาณการจราจรสูงและนับวันยิ่งประสบปัญหาการจราจรมากขึ้น   โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน สามารถใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (สายบางประอิน-นครราชสีมา) ได้โดยสะดวก และปลอดภัย และนอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางประอิน-นครราชสีมายังช่วยนำความเจริญมาสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยจะ เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็น อยู่ของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น เนื่องจาก จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างฐานการผลิตและส่งออกของประเทศไทยเข้ากับสี่ เหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดจีน ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานดังกล่าวกรมทางหลวงได้ว่าจ้างให้ บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาดำเนินงานสำรวจและออกแบบรายละเอียดเพื่อเตรียมการใน การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและก่อสร้างต่อไป โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ตอน คือ ตอน 1 จาก อำเภอบางประอิน-อำเภอปากช่อง ระยะทาง 103 กิโลเมตรและตอน 2 จากอำเภอ ปากช่อง - จังหวัดนครราชสีมา   ระยะทาง  93  กิโลเมตร   ซึ่งการสำรวจและออกแบบรายละเอียดในตอน  2  นี้ รับผิดชอบโดย  บริษัท  เอ็มเอเอ  คอนซัลแตนท์ และบริษัท เทสโก้ จำกัด

พื้นที่ศึกษาและแนวเส้นทาง
           แนวเส้นทางโครงการจะมีจุดเริ่มต้นต่อจากทางหลวงพิเศษหมายเลข   6   สายบางประอิน-นครราชสีมาตอน    2  (ประมาณ กม.103+000)  โดยแนวทางจะผ่านพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 5 อำเภอ ได้แก่อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน และอำเภอขามทะเลสอ   แล้วไปสิ้นสุดโครงการโดยเชื่อมต่อเข้ากับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา รวมระยะทาง 93 กิโลเมตร

ความสำคัญและประโยชน์ของโครงการ
       1. เพิ่มโครงข่ายทางหลวงใหม่จากกรุงเทพมหานครสู่นครราชสีมา เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่มีการจราจรสูงและหนาแน่น ตลอดเส้นทาง
       2. เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางประอิน-นครราชสีมา เป็นทางหลวงที่มีมาตรฐานสูง สามารถใช้ความเร็วในการเดินทางได้ถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและมีการควบคุมการเข้า – ออกแบบสมบูรณ์ตลอดเส้นทาง
       3. ลดความแออัดของถนนมิตรภาพ เนื่องจากการจราจรส่วนหนึ่งบนถนนมิตรภาพจะเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางประอิน-นครราชสีมา ดังนั้นจะทำให้ การจราจรบนถนนมิตรภาพคล่องตัวขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้รถสามารถเดินทางได้ รวดเร็วกว่าปกติ
       4. ส่งเสริมการท้องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องจากมีทางหลวงเส้นใหม่ ที่สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง
       5. ส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชาวบ้านอยุธยา-สระบุรี-ปากช่อง ร่วมต้านแผนสร้างมอเตอร์เวย์สายใหม่ "บางปะอิน-โคราช" ตอน1-2 ระยะทางรวม 202 กม. มูลค่าประมาณ 2.9 หมื่นล้าน เหตุหวั่นกระทบต่ออาชีพ-ความเป็นอยู่ ด้านกรมทางฯ ต้องยอมผ่อน เตรียมยืดเวลาสำรวจออกแบบให้กลุ่มที่ปรึกษาเพิ่มอีก 5 เดือน จากเส้นตายเดิมที่ต้องส่งมอบงานภายในเดือน ต.ค.นี้ เร่งทบทวนแบบและทำความเข้าใจกับชาวบ้าน


แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าในการสำรวจและออกแบบโครงการทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 สายบางปะอิน-โคราช ตอนที่ 1 ระยะทางประมาณ 103 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางจาก อำเภอบางปเอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และตอนที่ 2 ระยะทางประมาณ 99 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางจากอำเภอปากช่อง ถึงอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปแนวเส้นทางที่ชัดเจนได้ เนื่องจากยังได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ตามแนวเส้นทางโครงการอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะไม่ต้องการถูกเวนคืนที่ดิน


ทั้งนี้พื้นที่ค่อนข้างมีปัญหา คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเทศบาลตำบลลำตะเสา ที่ต้องการให้ปรับรูปแบบโครงการเพื่อลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณจุดขึ้น-ลง ขณะที่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ที่บริเวณเทศบาลตำบลทับกวาง ก็ต้องการให้ปรับแนวเส้นทางให้ชิดกับถ้ำเขาโพธิสัตว์มากที่สุด เพื่อลดจำนวนบ้านเรือนที่จะถูกเวนคืน ซึ่งในส่วนนี้ทางบริษัทที่ปรึกษาได้พิจารณาแล้วว่าไม่สามารถำได้ เพราะจะทำให้มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก


นอกจากนั้นที่บริเวณอำเภอมวกเหล็ก ก็มีกลุ่มองค์กรส่งเสริมโคนมแห่งประเทศไทย ที่ต้องการให้ปรับแนวเส้นทางเพื่อลดผลกระทบ ส่วนที่บริเวณปากช่อง ก็ต้องการให้เบี่ยงแนวเส้นทาง เพื่อไม่ให้กระทบกับพื้นที่ทำเหมือง เนื่องจากชาวบ้านเกรงว่าจะมีผลทำให้ถูกยกเลิกสัมปทานการทำเหมือง ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่อย่างมาก


ดังนั้นจึงต้องพิจารณาขยายเวลาการสำรวจและออกแบบให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา จากเดิมที่กำหนดให้ส่งมอบผลการศึกษาภายในเดือนตุลาคมนี้ ออกไปอีกประมาณ 5 เดือน เพื่อทำการปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางให้มีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด และออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ต้องดูว่าจะประนีประนอมกันอย่างไรเพื่อให้เป็นที่พอใจกันทุกฝ่าย


อย่างไรก็ดี ต้องพิจารณาดูด้วยว่า หลังจากที่ทบทวนแบบอีกครั้งหนึ่งแล้ว วงเงินลงทุนที่ประมาณการไว้ว่าเดิมตลอดแนวเส้นทางจะใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 29,000 ล้านบาทนั้น หากปรับแนวเส้นทางให้เป็นที่พอใจต่อประชาชนในพื้นที่แล้ว วงเงินจะยังอยู่ในจำนวนที่ประมาณการนี้ไวหรือไม่ หากเกินไปจากนี้ก็ต้องเจรจากับประชาชนเพื่อขอปรับแบบอีกครั้ง เพื่อให้สามารถคุมวงเงินการงทุนไม่ให้สูงเกินไปจากนี้ให้ได้ด้วย แหล่งข่าวรายเดิมกล่าว


สำหรับแนวเส้นทางโครงการดังกล่าวนั้น มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 202 กิโลเมตร โดยจะพาดผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีจุดเริ่มต้นโครงการที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก แนวถนนโครงการจะวางตัวออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ทางด้านเหนือของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ผ่านพื้นที่โล่งเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผ่านบ้านหินกอง แนวถนนโครงการจะเบนไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วซ้อนทับและใช้เขตทางร่วมกับทางเลี่ยงเมืองสระบุรีด้านตะวันออก ก่อนแยกออกจากแนวเลี่ยงเมืองแนวตรงไปผ่านบ้านห้วยแห่ง


จากนั้นจะขนานด้านใต้กับแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3222 (แก่งคอย-บ้านนา) ผ่านบ้านโคกกรุง ด้านเหนือของวิทยาลัยเกษตรสงเคราะห์สระบุรี เข้าสู่เขตพื้นที่นิคมสร้างตนเองทับกวาง แล้วเข้าเขตพื้นที่ทอำเภอมวกเหล็ก จากนั้นแนวถนนโครงการจะตัดผ่านพื้นที่บ้านคั่นตะเคียน บ้านกลางดง ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2222 ทางเข้าสัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม


โดยแนวที่เชื่อมต่อไปจังหวัดนครราชสีมาจะตัดป่าบริเวณบ้านหนองน้ำแดง ผ่านพื้นที่ทหาร ซ้อนทับกับถนนมิตรภาพช่วงเลียบเขื่อนลำตะคอง ตัดข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) บริเวณบ้านคลองไผ่ ซึ่งแนวต่อจากนี้จะอยู่ด้านเหนือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนมิตรภาพ) โดยตลอด ซึ่งแนวเส้นทางจะสิ้นสุดที่วงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา


สำหรับทางพิเศษสายนี้ จะเป็นถนนขนาด 4-6 ช่องจราจร และสามารถขยายเป็น 8 ช่องจราจรได้ในอนาคต ทำให้รองรับปริมาณการจราจรได้มาก อีกทั้งยังเป็นเส้นทางที่สามารถควบคุมการเข้า-ออกได้อย่างสมบูรณ์แบบ จะไม่มีจุดตัดหรือทางแยก ทำให้ผู้ขับขี่สามารถใช้ความเร็วได้เต็มที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถกำหนดเวลาในการเดินทางได้ โดยตลอดแนวเส้นทางจะมีสถานีบริการทางหลวง 1 แห่ง ที่พักริมทางหลวง 3 แห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ทาง, ด่านเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง 6 จุด ทางลอด 19 จุด ทางข้าม 6 จุด และทางลอดใต้สะพาน 63 จุด เพื่อให้ชุมชนทั้งสองข้างทางสามารถสัญจรถึงกันได้สะดวกและปลอดภัย รวมถึงจะมีทางแยกต่างระดับ 6 จุด ที่เชื่อมต่อกับทางหลวงสายสำคัญด้วย