หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรมทางหลวงได้จัดทำแผนแม่บทและดำเนินการก่อสร้างทางหลวงพิเศษ  ตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2540 มีโครงข่ายรวมทั้งสิ้น 13 สายทางระยะทาง รวม 4,150 กิโลเมตร ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยปัจจุบันกรมทางหลวง ได้ก่อสร้างทางหลวงพิเศษแล้วเสร็จ จำนวน 2 สาย ได้แก่
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก)
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี) 
สำหรับ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (สายบางประอิน-นครราชสีมา) นับเป็นทางหลวงพิเศษอีกเส้นทางหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เนื่องจากเป็น
เป็นทางหลวงพิเศษที่สามารถแบ่งเบาการจราจรทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่มีปริมาณการจราจรสูงและนับวันยิ่งประสบปัญหาการจราจรมากขึ้น   โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน สามารถใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (สายบางประอิน-นครราชสีมา) ได้โดยสะดวก และปลอดภัย และนอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางประอิน-นครราชสีมายังช่วยนำความเจริญมาสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยจะ เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็น อยู่ของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น เนื่องจาก จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างฐานการผลิตและส่งออกของประเทศไทยเข้ากับสี่ เหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดจีน ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานดังกล่าวกรมทางหลวงได้ว่าจ้างให้ บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาดำเนินงานสำรวจและออกแบบรายละเอียดเพื่อเตรียมการใน การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและก่อสร้างต่อไป โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ตอน คือ ตอน 1 จาก อำเภอบางประอิน-อำเภอปากช่อง ระยะทาง 103 กิโลเมตรและตอน 2 จากอำเภอ ปากช่อง - จังหวัดนครราชสีมา   ระยะทาง  93  กิโลเมตร   ซึ่งการสำรวจและออกแบบรายละเอียดในตอน  2  นี้ รับผิดชอบโดย  บริษัท  เอ็มเอเอ  คอนซัลแตนท์ และบริษัท เทสโก้ จำกัด

พื้นที่ศึกษาและแนวเส้นทาง
           แนวเส้นทางโครงการจะมีจุดเริ่มต้นต่อจากทางหลวงพิเศษหมายเลข   6   สายบางประอิน-นครราชสีมาตอน    2  (ประมาณ กม.103+000)  โดยแนวทางจะผ่านพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 5 อำเภอ ได้แก่อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน และอำเภอขามทะเลสอ   แล้วไปสิ้นสุดโครงการโดยเชื่อมต่อเข้ากับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา รวมระยะทาง 93 กิโลเมตร

ความสำคัญและประโยชน์ของโครงการ
       1. เพิ่มโครงข่ายทางหลวงใหม่จากกรุงเทพมหานครสู่นครราชสีมา เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่มีการจราจรสูงและหนาแน่น ตลอดเส้นทาง
       2. เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางประอิน-นครราชสีมา เป็นทางหลวงที่มีมาตรฐานสูง สามารถใช้ความเร็วในการเดินทางได้ถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและมีการควบคุมการเข้า – ออกแบบสมบูรณ์ตลอดเส้นทาง
       3. ลดความแออัดของถนนมิตรภาพ เนื่องจากการจราจรส่วนหนึ่งบนถนนมิตรภาพจะเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางประอิน-นครราชสีมา ดังนั้นจะทำให้ การจราจรบนถนนมิตรภาพคล่องตัวขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้รถสามารถเดินทางได้ รวดเร็วกว่าปกติ
       4. ส่งเสริมการท้องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องจากมีทางหลวงเส้นใหม่ ที่สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง
       5. ส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น