หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรมทางหลวงปัดฝุ่น"บางใหญ่-บ้านโป่ง" โละทีโออาร์ต่อเส้นทางถึงเมืองกาญจน์
กรมทางหลวงไม่หวั่นกระแสต้าน ลุยต่อมอเตอร์เวย์บางใหญ่-บ้านโป่ง ยันไม่ซ้ำซ้อนโครงการแหลมผักเบี้ย เปิดประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนรอบที่ 3 หลังล้มเหลวมาแล้ว 2 ครั้ง โละเงื่อนไขในทีโออาร์ใหม่หมด ต่อเส้นทางถึงกาญจนบุรี หวังให้จูงใจมากขึ้น ล่าสุดเสนอคมนาคมออกกฎกระ ทรวงมารองรับ ด้าน "สุริยะ" อาศัยจังหวะ อยู่ระหว่างแก้กฎหมายโอนมอ เตอร์เวย์ 2 สายให้ กทพ.ยืดเยื้อ เล็งปัดฝุ่นใหม่ทั้งหมด
นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ รองอธิบดีฝ่ายบริหาร กรมทางหลวง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมทางหลวงกำลังจะเปิดประกาศเชิญชวนผู้สนใจ เข้ามาลงทุนโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-บ้านโป่ง เป็นครั้งที่ 3 หลังจากเปิดประกาศเชิญชวนไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ยังไม่มีเอกชนรายใดสนใจ โดยอาจจะคงรูปแบบสัมปทานเหมือนเดิม หรือปรับใหม่โดยให้รัฐลงทุนเองและจ้างเอกชนมาบริหารขึ้นอยู่กับนโย บายกระทรวงคมนาคม
"ตอนนี้ได้ส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว เพื่อให้พิจารณาแนวทางจะต้องออกเป็นกฎกระทรวงก่อน ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติสัมปทานฉบับใหม่ คาดว่าจะประกาศเชิญชวนได้ภายในปีนี้"
นายชัยสวัสดิ์กล่าวว่า เพื่อจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน กรมทางหลวงจะผ่อนปรนเงื่อนไขในทีโออาร์ให้บางประการ โดยจัดทำเงื่อนไขใหม่ จากเดิมที่มีการท้วงติงว่าตั้งเงื่อนไขสูงเกินไป ซึ่งจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมารับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง เพื่อให้พิจารณาเงื่อนไขว่าจะปรับส่วนไหนได้บ้าง เนื่อง จากที่ผ่านมาติดปัญหาเงื่อนไขที่โออาร์บางประการ
"ครั้งนี้จะมีการพิจารณาแนวเส้นทางใหม่ อาจต่อไปถึงกาญจนบุรี จากเดิมถึงแค่บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ระยะทาง 51 กิโลเมตร มูลค่า 12,196 ล้านบาท รูปแบบใหม่ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท จะเป็นเส้นทางไปทางตะวันตก เชื่อมไปยังประเทศพม่าออกเมืองทวายระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร"
นายชัยสวัสดิ์กล่าวว่าจากที่หลายฝ่ายท้วงติงว่าโครงการจะซ้ำซ้อนกับโครงการแหลมผักเบี้ยนั้น ขอยืนยันว่าไม่ซ้ำซ้อนอย่างแน่นอน เพราะเป็นคนละเส้นทางกัน เส้นนี้จะไปเชื่อมถึงประเทศพม่า ขณะที่โครงการแหลมผักเบี้ยไปไม่ถึง และจุดเริ่มต้นคนละทิศทางกันเลย
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับรายละเอียดของทีโออาร์ที่มีการปรับเงื่อนไขใหม่ จะมีการนำทีโออาร์เดิมที่เคยปรับมาแล้วรอบหนึ่งมาพิจารณาอีกครั้ง ได้แก่ 1.ปรับลดทุนจดทะเบียนบริษัท จาก 3,000 ล้านบาท เหลือ 2,000 ล้านบาท 2.ให้เอกชนจ่ายค่าเวนคืนไปก่อนและกรมทางหลวงจะจ่ายคืนให้ภายหลัง พร้อมดอกเบี้ย จากเดิมที่จะไม่มีการคิดดอกเบี้ย ซึ่งค่าเวนคืนจะอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของเอกชนในเรื่องของดอกเบี้ยว่าจะให้เท่าไหร่
3.รัฐจะประกันรายได้ขั้นต่ำให้เพื่อให้เอกชนสนใจ เพราะเอกชนเกรงว่าเมื่อเปิดใช้แล้ว รายได้จะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 4.รับประกันหน่ายงานอื่นของรัฐจะไม่มีการสร้างทางในลักษณะเดียวกันมาแข่งขัน 5.การปรับค่าผ่านทางสามารถปรับได้ตามภาวะเศรษฐกิจ หรือปรับตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ลงทุน โดยจะเก็บกิโลเมตรละ 1 บาท สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ 6.กรมทางหลวงมีแผนจะปรับปรุงถนนรัตนาธิเบศร์ เป็น 6 ช่องจราจร และก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ ขนาด 6 ช่องจราจร คร่อมสะพานพระนั่งเกล้าเดิม และในอนาคตจะขยายไปเชื่อมกับโครงการโทลล์เวย์ และวงแหวนตะวันออก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน
"นอกจากนี้อาจจะมีการพิจารณาเงื่อนไขใหม่ว่าให้รัฐลงทุนก่อสร้างไปก่อน และให้เอกชนมาบริหารและชำระเงินคืนภายหลัง และมีความเป็นไปได้ว่ากรมอาจจะเปิดประกวดราคาเป็น 2 ช่วง เพราะเป็นโครงการใหญ่ ทำต่อถึงกาญจนบุรี มีระยะทางหลายสิบกิโลเมตร ถ้าให้เอกชนรายเดียวคาดว่าจะทำให้การก่อสร้างล่าช้า" รายงานข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ผู้บริหารในกรมทางหลวงสับสนกับนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่จะให้มีการปรับโครงข่ายถนนใหม่ โดยเฉพาะทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์ โดยให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาในรายละเอียด และให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ไม่มีระบบสัมปทาน และไม่เสียค่าผ่านทาง ซึ่งเดิมกรมทางมีแนวคิดจะให้เป็นระบบสัมปทาน ให้เอกชนมาลงทุนเองทั้งหมด และจะมีการนำสร้างมอเตอร์เวย์ทั่วประเทศ อาทิ บางปะอิน-นครสวรรค์ บางปะอิน-นครราชสีมา สายชลบุรี-พัทยา ที่อยู่ระหว่างทำการศึกษา สายพัทยา-มาบตาพุด สายรามอินทรา-บางพลี สายปากท่อ-ชะอำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามกรมจะนำเสนอรายละเอียดที่ได้ศึกษาไปแล้ว ให้พิจารณาอีกครั้งถ้าไม่เห็นด้วยก็ต้องปรับใหม่
รายงานข่าวแจ้งว่ากรมทางหลวงกำลังเร่งดำเนินการสร้างมอเตอร์เวย์สายต่างๆ เพราะปัจจุ บันหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น